เงินกู้สามัญทั่วไป
เงินกู้สามัญทั่วไป อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 ต่อปี
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้สามัญทั่วไป ดังนี้
1. สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์
- เป็นสมาชิก 6 เดือน แต่ไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 70 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 2,000,000.00 บาท
- เป็นสมาชิกมากกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 80 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 2,500,000.00 บาท
- เป็นสมาชิกมากกว่า 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์กู้ได้ 90 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 3,500,000.00 บาท
2. สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ ของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์หรือลูกจ้างประจำสหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานสหกรณ์ ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด
- เป็นสมาชิก 6 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 50 เท่า ของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 350,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 4 คน
- เป็นสมาชิกมากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 60 เท่า ของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 450,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 4 คน
- เป็นสมาชิกมากกว่า 5 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 70 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 550,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 4 คน
- ถ้าใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันให้คำนวณราคาประเมินของทางราชการเฉพาะที่ดินเท่านั้น ให้สามารถกู้ได้เพิ่มอีกหนึ่งสัญญากู้ได้ไม่เกิน 800,000.00 บาท กำหนดงวดชำระไม่เกิน 150 งวด
3. สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์
3.1 สำหรับสมาชิกที่มีหนี้อยู่เดิมก่อน 1 มกราคม 2559 ให้กำหนดเกณฑ์ ดังนี้
- เป็นสมาชิก 6 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 15 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 120,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 4 คน
- เป็นสมาชิกมากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 20 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 150,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 4 คน
- เป็นสมาชิกมากกว่า 5 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 30 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 300,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 5 คน
- หรือถ้าใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันให้คำนวณราคาประเมินของทางราชการ เฉพาะที่ดินเท่านั้น ให้สามารถกู้ได้เพิ่มอีกหนึ่งสัญญา กู้ได้ไม่เกิน 500,000.00 บาท กำหนดงวดชำระไม่เกิน 150 งวด
3.2 สำหรับสมาชิกที่สมัครหลัง 1 มกราคม 2559 หรือสมาชิกที่ไม่เคยมีหนี้กับสหกรณ์ ก่อน 1 มกราคม 2559 ให้กำหนดเกณฑ์ ดังนี้
- เป็นสมาชิก 6 เดือน แต่ไม่เกิน 2 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 15 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 100,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 4 คน
- เป็นสมาชิกมากกว่า 2 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 20 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 120,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 4 คน
- เป็นสมาชิกมากกว่า 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 25 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 150,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 5 คน
- เป็นสมาชิกมากกว่า 10 ปี มีสิทธิ์กู้ได้ 30 เท่าของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกิน 300,000.00 บาท ผู้ค้ำประกัน 5 คน
- หรือถ้าใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันให้คำนวณราคาประเมินของทางราชการ เฉพาะที่ดินเท่านั้น ให้สามารถกู้ได้เพิ่มอีกหนึ่งสัญญา กู้ได้ไม่เกิน 500,000.00 บาท กำหนดงวดชำระไม่เกิน 150 งวด
4. สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญหรือสมาชิกที่มีอายุเกินกว่า 60 ปีให้ใช้หลักเกณฑ์ตาม ข้อ 1 แต่วงเงินกู้ไม่เกิน 2,000,000.00 บาท กำหนดงวดชำระหนี้ไม่เกิน 120 งวด
เงินกู้สามัญคลินิกรวมหนี้ดับเบิ้ลพลัส
เงินกู้คลินิกรวมหนี้ดับเบิ้ลพลัส อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.50 บาทต่อปี (มีเฉลี่ยคืน) และ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.40 บาทต่อปี (ไม่มีเฉลี่ยคืน)
เงินกู้คลินิกรวมหนี้ดับเบิลพลัส มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อแก้ไขปัญหาในการชำระหนี้ของสมาชิก
- เพื่อเสริมสภาพคล่องและช่วยเหลือเพิ่มขีดความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกและเป็น การพัฒนาคุณภาพหนี้ของสมาชิก
- เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีและดำรงชีวิตอย่างมีความสุขยั่งยืนพอเพียง
คุณสมบัติของสมาชิกผู้กู้ มีดังนี้
- เป็นสมาชิกสหกรณ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- ต่องมีหุ้นและหรือเงินฝากในสหกรณ์รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 6 ของวงเงินกู้สามัญรวมทุกประเภท
- ต้องไม่อยู่ในระหว่างการผิดนัดงวดชำระหนี้กับสหกรณ์จนกว่าจะแก้ไขการผิดนัดงวดชำระ หนี้นั้นจนแล้วเสร็จหรือไม่อยู่ในระหว่างที่ถูกลงโทษงดให้เงินกู้
- สำหรับสมาชิกที่สมัครหลังวันที่ 1 มกราคม 2567 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงิน ได้รายเดือนที่เหลือ และต้องผ่านการอบรมสมาชิกใหม่ที่สหกรณ์จัดขึ้น
- ให้มีหลักประกันตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรรวมถึงหลักทรัพย์ตามกฎหมายกำหนด
ลักษณะหนี้ที่จะนำมารวมหนี้ มีดังนี้
- หนี้ที่สมาชิกเป็นลูกหนี้กับสหกรณ์ทุกสัญญา
- หนี้ที่สมาชิกเป็นลูกหนี้อยู่กับสถาบันการเงินอื่นตามกฎหมายกำหนด
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้โครงการสินเชื่อคลินิกรวมหนี้ดับเบิลพลัส ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 5,800,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 4,300,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บ ประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 880,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้ สูงสุดไม่เกิน 580,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างประจำสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์ สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม้เกิน 1,000,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือหน่วยงาน ของกระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น ซึ่งหน่วยงานต้นสังกัดสามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือนให้กับสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 3,000,000.00 บาท ต้องมีหุ้นและหรือเงินฝากในสหกรณ์รวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของวงเงินกู้สามัญรวมทุกประเภท
การผ่อนชำระหนี้เงินกู้ ให้ผู้กู้สามารถเลือกแบบการชำระข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- ผ่อนชำระคืนต้นเงินเป็นงวดรายเดือนเท่า ๆ กันเว้นแต่งวดสุดท้าย พร้อมดอกเบี้ยต่างหาก
- ผ่อนชำระเงินกู้แบบต้นเงินและดอกเบี้ยรวมกันเท่ากันทุกงวด
กำหนดงวดชำระหนี้และการหักเงินได้รายเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ประจำเดือนให้กำหนด ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ ปฏิบัติงานในหน่วยงานสังกัดกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์กำหนดให้หักเงิน ได้รายเดือนไม่เกินร้อยละ 90 ของเงินได่รายเดือน กำหนดงวดชำระไม่เกิน 324 งวด แต่งวดสุดท้ายอายุ ไม่เกิน 75 ปี ยกเว้นลูกจ้างประจำงวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 65 ปี
- 1 ธันวาคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2568 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 88 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2568 – 30 พฤศจิกายน 2569 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 86 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2569 – 30 พฤศจิกายน 2570 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 84 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2570 – 30 พฤศจิกายน 2571 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 82 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2571 – 30 พฤศจิกายน 2572 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 80 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2572 – 30 พฤศจิกายน 2573 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 78 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2573 – 30 พฤศจิกายน 2574 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 76 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2574 – 30 พฤศจิกายน 2575 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 74 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2575 – 30 พฤศจิกายน 2576 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 72 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2576 – 30 พฤศจิกายน 2577 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- สมาชิกที่เป็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ กำหนดให้หักเงินได้รายเดือนไม่เกินร้อยละ 85 ของเงินได้รายเดือน กำหนดงวดชำระไม่เกิน 324 งวด แต่งวด สุดท้ายอายุไม่เกิน 65 ปี และเมื่ออายุ 60 ปี ให้มีหนี้คงเหลือไม่เกินบำเหน็จที่พึงจะได้รับ
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ กำหนดให้หักเงินได้รายเดือนไม่เกินร้อยละ 85 ชำระไม่เกิน 216 งวด แต่ งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 75 ปี หรือหากใช้หลักทรัพย์เป็นโฉนดที่ดินเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ เว้นที่ดินในจังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม เฉพาะพื้นที่เขตอำเภอที่ติดกับจังหวัดสุรินทร์เท่านั้น ชำระไม่เกิน 264 งวด แต่งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 75 ปี
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างประจำสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์ กำหนดให้หักเงินได้รายเดือนไม่เกินร้อยละ 85 ชำระไม่เกิน 300 งวด เว้นแต่งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 60 ปี
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือหน่วยงาน ของกระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น กำหนดให้หักเงินได้รายเดือนไม่เกินร้อยละ 85 ชำระไม่เกิน 192 งวด เว้นแต่งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 60 ปี
- 1 ธันวาคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2568 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 83 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2568 – 30 พฤศจิกายน 2569 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 81 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2569 – 30 พฤศจิกายน 2570 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 79 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2570 – 30 พฤศจิกายน 2571 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 77 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2571 – 30 พฤศจิกายน 2572 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 75 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2572 – 30 พฤศจิกายน 2573 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 73 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2573 – 30 พฤศจิกายน 2574 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 71 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2574 – 30 พฤศจิกายน 2575 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ และสมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป กำหนดให้หักเงินได้รายเดือนไม่เกินร้อยละ 80 ชำระไม่เกิน 180 งวด เว้นแต่งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 60 ปี
- 1 ธันวาคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2568 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 80 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2568 – 30 พฤศจิกายน 2569 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 78 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2569 – 30 พฤศจิกายน 2570 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 76 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2570 – 30 พฤศจิกายน 2571 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 74 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2571 – 30 พฤศจิกายน 2572 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 72 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2572 – 30 พฤศจิกายน 2573 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- การหักเงินได้รายเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ประจำเดือนให้กำหนด ดังนี้
- ให้รวมค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทั้งหมดที่แสดงในบัญชีเงินเดือน ยกเว้นรายการหักของสหกรณ์ มาหักออก จากเงินได์รายเดือนก่อน ส่วนเงินได้รายเดือนที่เหลือให้นำมาคำนวณการหักตามเกณฑ์ที่กำหนด
- สำหรับสมาชิกที่มีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป และเป็นสมาชิก กบข. ให้หักเงินได้รายเดือนออกร้อยละ ยี่สิบก่อน ยกเว้นสมาชิกผู้ที่ชำระงวดสุดท้ายไม่เกินเดือนที่เกษียณอายุราชการ แล้วจึงดำเนินการต่อตามวรรคแรก
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้คลินิกรวมหนี้ดับเบิลพลัส พ.ศ. 2567 ตาม ประกาศของสหกรณ์ โดยจะประกาศให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป
- การใช้บุคคลค้ำประกันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และสมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ ที่กู้ไม่เกิน 1,000,000.00 บาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกันเงินกู้ จำนวน 3 คน และกู้เกินกว่า 1,000,000.00 บาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกันเงินกู้จำนวน 5 คน ถ้าเกินกว่า 2,500,000.00 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ 6 คน และถ้าเกินกว่า 4,000,000.00 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ 7 คน
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือหน่วยงาน ของกระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น ที่กู้ไม่เกิน 1,000,000.00 บาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกันเงินกู้จำนวน 4 คน และกู้เกินกว่า 1,000,000.00 บาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกันเงินกู้จำนวน 6 คน ถ้าเกินกว่า 2,500,000.00 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ 7 คน และถ้าเกินกว่า 4,000,000.00 บาท ต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ 8 คน
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป และสมาชิกที่เป็นลูกจ้างประจำสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด กู้ไม่เกิน 200,000.00 บาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกัน เงินกู้จำนวน 4 คน และต้องมีสมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือสมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ หรือสมาชิกที่เป็นข้าราชการที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือหน่วยงาน ของกระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น อย่างน้อย 2 คนเป็นผู้ค้ำประกัน และกู้เกินกว่า 200,000.00 บาท ต้องมีสมาชิกค้ำประกันเงินกู้จำนวน 5 คน ต้องมีสมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือสมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญหรือ สมาชิกที่เป็นข้าราชการที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือหน่วยงาน ของกระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น อย่างน่อย 3 คนเป็นผู้ค้ำประกัน
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และสมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ สามารถค้ำประกันเงินกู้ให้กันได้ไม่เกิน 8 คน และสามารถ ค้ำประกันเงินกู้ให้ลูกจ้างชั่วคราวได้อีกไม่เกิน 4 คน
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป และสมาชิกที่เป็นลูกจ้างประจำสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด สามารถค้ำประกันเงินกู้ให้กันได้ไม่เกิน 3 คน
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือหน่วยงาน ของกระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น ที่หักเงินได้รายเดือนจากต้นสังกัดได้ สามารถค้ำประกันเงินกู้ให้กันได้ ไม่เกิน 8 คน
- สมาชิกสามารถใช้บุคคลค้ำประกันซ้ำกับเงินกู้สามัญทุกประเภทได้ เมื่อผู้ค้ำประกันตายหรือออก จากสหกรณ์ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุใด หรือสหกรณ์เห็นว่าไม่สมควรจะเป็นผู้ค้ำประกันต่อไป ผู้กู้ต้องจัดหาสมาชิกอื่น เข้าเป็นผู้ค้ำประกันแทนคนเดิมให้เสร็จภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสือจากสหกรณ์
การกู้เงินคลินิกรวมหนี้ดับเบิลพลัส พ.ศ. 2567 สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำหนังสือสัญญากู้เงิน ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือถ้าใช้บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานของรัฐ ต้องมี สำเนาทะเบียนบ้านทั้งของผู้กู้ ผู้ค้ำประกันรวมทั้งคู่สมรส
- เอกสารแสดงรายการเงินเดือน หรือสำเนาเอกสาร แสดงการรายการเงินเดือน เดือน ล่าสุด ณ วันที่ยื่นกู้ของผู้กู้ที่ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่การเงินในหน่วยงานรับรอง
- หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย
- เอกสารหลักฐานเกี่ยวกับมูลหนี้สถาบันการเงิน เช่น หนังสือรับรองยอดหนี้คงเหลือ จากสถาบันการเงิน หรือ ใบแจ้งยอดรายการบัตรเครดิต เป็นต้น
- หนังสือรับรองตนเอง เพื่อแถลงการไม่เป็นสมาชิกสามัญของสหกรณ์ออมทรัพย์อื่น ของสมาชิกที่เป็นข้าราชการที่โอนย้ายไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ หรือหน่วยงาน ของกระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด หรือหน่วยงานอื่น
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
เงินกู้สามัญเพื่อการบริโภค
เงินกู้สามัญเพื่อการบริโภค อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.50 บาท ต่อปี
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้สามัญเพื่อการบริโภค ดังนี้
- เป็นสมาชิกสหกรณ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ ที่หักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท (ห้าแสนบาท) กำหนดงวดชำระไม่เกิน 150 งวด แต่งวดสุดท้ายไม่เกิน 75 ปี เว้นแต่ลูกจ้างประจำ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์และเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ งวด สุดท้ายไม่เกินเดือนที่เกษียณอาย
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ หรือพนักงานราชการของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด ที่หักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้วงเงินกู้ได้ไม่เกิน 200,000 บาท (สองแสนบาท) กำหนดงวดชำระไม่เกิน 60 งวด แต่งวดชำระงวดสุดท้ายไม่เกินอายุ 60 ปี
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไปของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ ที่หักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาท) กำหนดงวดชำระไม่เกิน 60 งวด กำหนด งวดชำระงวดสุดท้ายไม่เกินอายุ 60 ปี
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ วงเงินกู้ไม่เกิน 300,000.00 บาท (สามแสนบาทถ้วน) กำหนดงวดชำระหนี้ไม่เกิน 150 งวด แต่งวดสุดท้ายไม่เกินอายุ 75 ปี
การหักเงินได้รายเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ประจำเดือนให้เป็น ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่ สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ตามเกณฑ์ ที่กำหนด ดังนี้
- ในปี 2565 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 79 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2566 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 78 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2567 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 77 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2568 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 76 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2569 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 75 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2570 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 74 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2571 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 73 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2572 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 72 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2573 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 71 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2574 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
สมาชิกที่มี กบข. ที่มีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไปและกำหนดงวดชำระหนี้เงินกู้นี้เดือนสุดท้ายเกิน อายุ 60 ปี ให้หักเงินได้รายเดือนออกร้อยละยี่สิบก่อน
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ หรือพนักงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด หรือลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ สหกรณ์ได้ไม่เกินร้อยละ 70
เงินกู้สามัญสร้างสุขพลัส
เงินกู้สามัญสร้างสุขพลัส อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.50 บาทต่อปี (มีเฉลี่ยคืน) และ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.40 บาทต่อปี (ไม่มีเฉลี่ยคืน)
คุณสมบัติของสมาชิกผู้กู้สามัญเพื่อสร้างสุขพลัส ดังนี้
- เป็นสมาชิกติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจฯ หรือลูกจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ หรือพนักงานราชการ หรือลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์ อนามัยสุรินทร์ จำกัด
- เป็นข้าราชการ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานนอกสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สุรินทร์และสามารถหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้
- สมาชิกผู้กู้ต้องไม่อยู่ในระหว่างผิดนัดงวดชำระหนี้กับสหกรณ์จนกว่าจะแก้ไขการผิด นัดงวดชำระหนี้จนแล้วเสร็จ
- ผู้ที่เป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ต้องผ่านการอบรม สมาชิกใหม่ที่สหกรณ์จัดขึ้น
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้สามัญสร้างสุขพลัส ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ เจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์ สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 500,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 250,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ ของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหัก เงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 120,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 70,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานนอกสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์และไม่สามารถหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ 3.1 โดยอนุโลม แต่วงเงินกู้สูงสุด ไม่เกิน 350,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างประจำสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด ซึ่งเป็นสมาชิก สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 70,000.00 บาท
การใช้บุคคลค้ำประกันให้เป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้
- ข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์หรือลูกจ้างประจำสหกรณ์หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจฯ หรือ เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ จำนวน 1 คน
กำหนดงวดชำระหนี้มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- ผ่อนชำระคืนต้นเงินเป็นงวดรายเดือนเท่า ๆ กัน เว้นแต่งวดสุดท้าย พร้อมดอกเบี้ย ต่างหาก
- ผ่อนชำระเงินกู้แบบต้นเงินและดอกเบี้ยรวมกันเท่ากันทุกงวด
- ต้องชำระหนี้มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน จึงจะสามารถยื่นกู้สัญญาใหม่ได้
- ต้องส่งงวดชำระเงินกู้และดอกเบี้ยทุกประเภท และค่าหุ้นรายเดือนต้องไม่เกิน ร้อยละ 90 ของเงินเดือนของสมาชิกนั้น
- 1 ธันวาคม 2567 – 30 พฤศจิกายน 2568 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 88 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2568 – 30 พฤศจิกายน 2569 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 86 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2569 – 30 พฤศจิกายน 2570 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 84 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2570 – 30 พฤศจิกายน 2571 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 82 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2571 – 30 พฤศจิกายน 2572 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 80 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2572 – 30 พฤศจิกายน 2573 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 78 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2573 – 30 พฤศจิกายน 2574 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 76 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2574 – 30 พฤศจิกายน 2575 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 74 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2575 – 30 พฤศจิกายน 2576 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 72 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- 1 ธันวาคม 2576 – 30 พฤศจิกายน 2577 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ข้าราชการ และข้าราชการบำนาญ กำหนดงวดชำระ 180 งวด งวดสุดท้ายอายุ ไม่เกิน 75 ปี
- ลูกจ้างประจำ กำหนดงวดชำระ 180 งวด งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 65 ปี
- เจ้าหน้าที่สหกรณ์ เจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ กำหนดงวดชำระ 180 งวด งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 65 ปี และเมื่ออายุ 60 ปี ให้มีหนี้คงเหลือไม่เกินบำเหน็จที่พึงจะได้รับ
- ลูกจ้างชั่วคราว เจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน กำหนดงวดชำระ 180 งวด งวดสุดท้าย อายุไม่เกิน 60 ปี
- ลูกจ้างประจำสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด ซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือนวงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 70,000.00 บาท กำหนดงวดชำระ 180 งวด งวดสุดท้ายอายุไม่เกิน 60 ปี
ผู้ขอกู้ต้องไม่อยู่ในระหว่างการผิดนัดงวดชำระหนี้กับสหกรณ์จนกว่าจะแก้ไขการผิดนัดงวด ชำระหนี้จนแล้วเสร็จ
การกู้สามัญเพื่อสร้างสุขพลัส สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำสัญญาหรือหนังสือกู้ตามแบบ ที่สหกรณ์กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือถ้าใช้บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานของรัฐ ต้องมี สำเนาทะเบียนบ้านทั้งของผู้กู้ ผู้ค้ำประกัน รวมทั้งคู่สมรสของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
- เอกสารแสดงรายการเงินเดือนหรือสำเนาเอกสารแสดงรายการเงินเดือนของผู้กู้ ณ วันที่ยื่นกู้ของผู้กู้ที่ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่การเงินในหน่วยงานรับรอง
- หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย
เงินกู้สามัญเพิ่มสุข
เงินกู้สามัญเพิ่มสุข อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 บาทต่อปี
คุณสมบัติของสมาชิกผู้กู้สามัญเพิ่มสุข ดังนี้
- เป็นสมาชิกสหกรณ์ติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
- เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือ เจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจฯ หรือลูกจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ หรือพนักงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด หรือลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
- สมาชิกผู้กู้ต้องไม่เคยผิดนัดงวดชำระหนี้กับสหกรณ์ ภายใน 12 งวด ก่อนยื่นคำขอกู้
- ผู้ที่เป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ต้องผ่านการอบรมสมาชิกใหม่ที่ สหกรณ์จัดขึ้น
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้สามัญเพิ่มสุข ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์และเจ้าหน้าที่สหกรณ์ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวน ที่เรียกเก็บประจำเดือน กู้ได้ไม่เกิน 50,000.00 บาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ หรือพนักงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด หรือลูกจ้างชั่วคราวทั่วไปของหน่วยงานในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ และเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจฯ ที่หักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้
- สมาชิกที่มีเงินเดือนไม่เกิน 10,000.00 บาท กู้ได้ไม่เกิน 10,000.00 บาท
- สมาชิกที่มีเงินเดือนมากกว่า 10,000.00 บาท กู้ได้ไม่เกิน 20,000.00 บาท
- กำหนดงวดชำระไม่เกิน 60 งวด กำหนดงวดชำระงวดสุดท้ายไม่เกินอายุ 60 ปี ยกเว้น เจ้าหน้าที่สหกรณ์ กำหนดงวดสุดท้ายไม่เกินเดือนที่เกษียณอายุ
- การหักเงินได้รายเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ประจำเดือนให้เป็นตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
- สำหรับสมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
- ในปี 2565 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 79 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2566 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 78 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2567 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 77 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2568 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 76 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2569 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 75 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2570 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 74 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2571 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 73 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2572 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 72 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2573 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 71 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2574 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- สำหรับสมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
สำหรับสมาชิกที่มี กบข. ที่มีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไปและกำหนดงวดชำระหนี้เงินกู้นี้เดือนสุดท้ายเกิน อายุ 60 ปี ให้หักเงินได้รายเดือนออกร้อยละยี่สิบก่อน
- สำหรับสมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ หรือพนักงานราชการ หรือเจ้าหน้าที่ ศูนย์ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด หรือลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ สหกรณ์ได้ไม่เกินร้อยละ 70
เงินกู้สามัญเพิ่มสุข สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำสัญญาตามแบบที่สหกรณ์กำหนดพร้อมเอกสาร หลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือถ้าใช้บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานของรัฐต้องมี สำเนาทะเบียน บ้านทั้งของผู้กู้ ผู้ค้ำประกันรวมทั้งคู่สมรส
- หนังสือหรือเอกสารแสดงรายการเงินเดือนของผู้กู้เดือนล่าสุดของผู้กู้ที่ผู้บังคับบัญชาหรือ เจ้าหน้าที่การเงินในหน่วยงานรับรอง
- หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย
- หนังสือจำนำหุ้นหรือบัญชีเงินฝาก แล้วแต่กรณี
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
เงินกู้สามัญเพื่อคุณภาพชีวิต
เงินกู้สามัญเพื่อคุณภาพชีวิต อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.50 บาทต่อปี
คุณสมบัติของสมาชิกผู้กู้เงินกู้สามัญเพื่อคุณภาพชีวิต ดังนี้
- เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการบำนาญ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ เจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจฯ หรือลูกจ้างชั่วคราวตำแหน่งวิชาชีพที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์และหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้
- เป็นสมาชิกติดต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
- สมาชิกผู้กู้ต้องไม่อยู่ในระหว่างการผิดนัดงวดชำระหนี้กับสหกรณ์จนกว่าจะแก้ไขการผิดนัด งวดชำระหนี้นั้นจนแล้วเสร็จ
- ผู้ที่เป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ต้องผ่านการอบรม สมาชิกใหม่ที่สหกรณ์จัดขึ้น
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้สามัญเพื่อคุณภาพชีวิต ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ข้าราชการบำนาญ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่ สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ วงเงินกู้ไม่เกิน 300,000.00 บาท และต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้า ของวงเงินกู้สามัญรวมทุกประเภท
- สมาชิกที่เป็นลกูจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ วงเงินกู้ไม่เกิน 70,000.00 บาท และ ต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่า สองในสามของจำนวนเงินที่ขอกู้
เงินงวดชำระหนี้ ให้กู้ส่งคืนเงินต้นเป็นงวดรายเดือน และเบิกรับแบบหมุนเวียนได้ในวงเงินที่ได้รับ ดังนี้
- วงเงินกู้ 15,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 500.00 บาท
- วงเงินกู้ 20,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 500.00 บาท
- วงเงินกู้ 50,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 500.00 บาท
- วงเงินกู้ 70,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 1,000.00 บาท
- วงเงินกู้ 100,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 1,000.00 บาท
- วงเงินกู้ 150,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 1,000.00 บาท
- วงเงินกู้ 200,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 1,500.00 บาท
- วงเงินกู้ 250,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 1,700.00 บาท
- วงเงินกู้ 300,000.00 บาท ให้ส่งคืนต้น เงินเดือนละ 2,000.00 บาท
- ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ กำหนดงวดชำระหนี้ไม่เกิน 150 งวด แต่งวดสุดท้ายไม่เกินอายุ 75 ปี คนค้ำประกันเงินกู้ใช้ข้าราชการค้ำประกัน 3 คน
- ลูกจ้างประจำ เจ้าหน้าที่สหกรณ์ และเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ กำหนดงวดชำระหนี้ไม่เกิน 150 งวด และงวดสุดท้ายไม่เกินเดือน ที่เกษียณอายุ คนค้ำประกันเงินกู้ใช้ข้าราชการค้ำประกัน 3 คน
- สมาชิกที่เป็นลกูจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ กำหนดงวดชำระหนี้ไม่เกิน 150 งวด และงวดสุดท้ายไม่เกินเดือน ที่เกษียณอายุ คนค้ำประกันเงินกู้ใช้ข้าราชการค้ำประกัน 3 คน
การกู้เงินกู้สามัญเพื่อคุณภาพชีวิต สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำสัญญาตามแบบที่สหกรณ์กำหนด พร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือถ้าใช้บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานของรัฐต้อง มี สำเนาทะเบียนบ้านทั้งของผู้กู้ผู้ค้ำประกันรวมทั้งคู่สูมรส
- หนังสือหรือเอกสารแสดงรายการเงินเดือนของผู้กู้
- หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย
- หนังสือจำนำหุ้นหรือบัญชีเงินฝาก แล้วแต่กรณี
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
เงินกู้สามัญเพิ่มทรัพย์
เงินกู้สามัญเพิ่มทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 บาทต่อปี
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้สามัญเพิ่มทรัพย์ ดังนี้
- วงเงินกู้ สำหรับสมาชิกรายหนึ่งไม่เกินร้อยละเจ็ดสิบห้าของประมาณการผลตอบแทนจากการถือ หุ้นในสหกรณ์สำหรับประจำปีนั้น ๆ
- กู้ต้องยินยอมให้สหกรณ์หักเงินชำระเงินต้นจากเงินปันผลประจำปี และเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็น รายเดือนจากเงินเดือนทุกเดือนจนถึงวันจ่ายเงินปันผล หากเงินเดือนไม่พอให้ทำการหักเงินกู้ดังกล่าวไว้ โดยให้โอน เงินเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปของสมาชิกในจำนวนที่เพียงพอสำหรับโอนชำระดอกเบี้ยรายเดือนจนถึงวัน จ่ายเงินปันผลประจำปีนั้น ๆ ทั้งนี้ ผู้กู้ต้องทำหนังสือยินยอมให้สหกรณ์หักชำระดอกเบี้ยเงินกู้จากบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์
- ผู้กู้ต้องทำหนังสือยินยอมให้สหกรณ์หักชำระหนี้เงินต้นจากเงินปันผลและเฉลี่ยคืนประจำปี และ หักเงินได้รายเดือน ณ ที่จ่ายในกรณีสหกรณ์ไม่สามารถหักชำระหนี้เงินต้นจากเงินปันผลและเฉลี่ยคืนประจำปี
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญตามประกาศสหกรณ์
- ผู้ขอกู้ต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด มาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และ ไม่เป็นผู้ที่ถูกคำพิพากษาของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ให้อายัดเงินปันผลประจำปีเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ รายอื่นรวมทั้งต้องไม่อยู่ในระหว่างการผิดนัดงวดชำระหนี้กับสหกรณ์จนกว่าจะแก้ไขการผิดนัดงวดชำระหนี้นั้นจน แล้วเสร็จ เว้นแต่จะขอกู้เพื่อตัดชำระหนี้ที่ค้างชำระกับสหกรณ์
- สำหรับสมาชิกที่เคยมีประวัติหรือเคยมีคำสั่งคำพิพากษาของศาลหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ อายัดเงินปันผลประจำปีเพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายอื่น จะต้องนำหนังสือยืนยันการยกเลิกคำสั่งอายัดเงินปันผล จากสำนักงานบังคับคดีมาแสดงต่อสหกรณ์ จึงจะสามารถยื่นคำขอกู้ได้ตามสิทธิ
- สมาชิกสามารถยื่นคำขอกู้ได้หลังจากประชุมใหญ่สามัญประจำปีของทุกปีถึงวันทำการสุดท้ายของ เดือนพฤศจิกายนของทุกปี
- สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำสัญญาหรือหนังสือกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือถ้าใช้บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานของรัฐต้องมี สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นให้เป็นไปตามระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด ว่าด้วย การให้เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้ (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2559
เงินกู้สามัญสวัสดิการสมาชิกอายุ 60 ปี
เงินกู้สามัญสวัสดิการสมาชิกอายุ 60 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 บาทต่อปี
คุณสมบัติของสมาชิกผู้กู้ มีดังนี้
- เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ฯ
- มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกินอายุ 60 ปีบริบูรณ์
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้สามัญสวัสดิการสมาชิกอายุ 60 ปี ดังนี้
- วงเงินกู้สำหรับสมาชิกรายหนึ่งได้เท่ากับเงินสวัสดิการสมาชิกอายุครบ 60 ปี ที่พึงจะได้รับ เมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์
- ผู้กู้ต้องยินยอมให้สหกรณ์หักเงินชำระเงินต้นจากเงินสวัสดิการสมาชิกอายุครบ 60 ปี หากเสียชีวิตก่อน ได้รับสวัสดิการสมาชิกอายุครบ 60 ปีให้หักชำระเงินต้นจากสวัสดิการสมาชิกเสียชีวติ และเรียกเก็บดอกเบี้ยเป็นรายเดือน จากเงินเดือนจนถึงวันจ่ายเงินสวัสดิการ หากเงินเดือนไม่พอให้ทำการหักเงินกู้ดังกล่าวไว้ โดยให้โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์ทั่วไปของสมาชิกในจำนวนที่เพียงพอสำหรับโอนชำระดอกเบี้ยรายเดือนจนถึงวันจายเงินสวัสดิการสมาชิกอายุ ครบ 60 ปี
- กำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญตามประกาศสหกรณ์
- ต้องไม่อยู่ในระหว่างการผิดนัดงวดชำระหนี้กับสหกรณ์จนกว่าจะแก้ไขการผิดนัดงวดชำระหนี้นั้นจนแล้ว เสร็จ เว้นแต่จะขอกู้เพื่อตัดชำระหนี้ที่ค้างชำระกับสหกรณ์
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่นให้เป็นไปตามระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด ว่าด้วยการให้ เงินกู้และดอกเบี้ยเงินกู้(ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2559
สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำสัญญาหรือหนังสือกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือถ้าใช้บัตรข้าราชการหรือบัตรพนักงานของรัฐต้องมีสำเนา ทะเบียนบ้านของผู้กู้
- เอกสารแสดงรายการเงินเดือนของผู้กู้
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
เงินกู้สามัญเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิก
เงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิก ดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 บาทต่อปี
วัตถุประสงค์ของการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกดังนี้
- ผ่อนคลายภาระหนักในการชำระหนี้ของสมาชิก
- เพิ่มขีดความสามารถในการชำระหนี้และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้กู้หรือผู้ค้ำประกัน
หนี้ที่จะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ต้องมีลักษณะดังนี้
- หนี้ที่มีอยู่เป็นภาระหนัก โดยพิจารณาแล้วมีเงินได้คงเหลือสุทธิไม่เพียงพอในการ ชำระหนี้หรือไม่เพียงพอแกการดำรงชีพ
- หนี้ที่มีอยู่เป็นภาระหนัก อันเกิดจากเหตุสุจริตหรือเหตุอันจำเป็น ได้แก้ เหตุจาก ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ ปัญหาด้านสุขภาพ ถูกดำเนินคดีทางแพ่งและอาญา หรือต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
สมาชิกที่จะขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ ต้องมีลักษณะดังนี้
- เป็นผู้ที่มีภาระหนี้สินเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถชำระได้ตามปกติโดยให้ พิจารณาจากรายได้และตามรายละเอียดบัญชีเงินเดือนของสมาชิกและหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องและต้อง ปรากฏว่ามีรายได้คงเหลือสุทธิไม่เพียงพอในการชำระหนี้หรือไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพต้องได้รับความยินยอม จากผู้ค้ำประกัน หรือ
- เป็นผู้ค้ำ ประกันที่ต้องรับภาระการชำระหนี้แทนผู้กู้ โดยหนี้นั้นเป็นภาระหนักอัน เกิดจากเหตุสุจริตหรือเหตุอันจำเป็นของผู้ค้ำประกัน
- สมาชิกที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการ
สมาชิกที่ประสงค์จะปรับโครงสร้างหนี้ ให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ตามแบบที่สหกรณ์กำหนด รวมทั้งเอกสารที่แสดงให้เห็นว่ามีภาระหนัก ภายในวันที่ 5 ของเดือน (หากตรงกับ วันหยุดให้เลื่อนออกเป็นวันทำการแรก) หากยื่นภายหลังให้ถือว่าเป็นคำขอปรับโครงสร้างในเดือนถัดไป
คณะกรรมการจะพิจารณาให้สมาชิกผู้กู้หรือค้ำประกันปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
- ให้นำต้นเงินกู้ที่ค้างชำระ มาปรับงวดชำระหนี้ใหม่โดยขยายงวดชำระหนี้ออกไป ได้ไม่เกิน360 งวด แต่ต้องไม่เกินอายุ 80 ปี และต้องมีเงินได้รายเดือนสุทธิหลังหักชำระหนี้แล้วคงเหลือไม่น้อย กว่าร้อยละ 10 ตลอดอายุสัญญาที่ปรับโครงสร้างหนี้
- การปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิกรายใดรายหนึ่งให้กระทำได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี และยอดเงิน ที่ปรับโครงสร้างหนี้แต่ละครั้งจะต้องไม่เกินกว่าต้นเงินกู้คงเหลือรวมดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
หลักประกันเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ให้ใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย อย่างรวมกัน ดังนี้
- มีสมาชิกสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรเป็นผู้ค้ำประกันตาม จำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก้สมาชิก
- มีอสังหาริมทรัพย์อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่น จำนองเป็นประกันเต็ม จำนวนเงินกู้รายนั้น หรือหลักประกันอื่น ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่ สมาชิก
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้สมาชิกรายใดปรับโครงสร้างหนี้แล้ว และได้ทำ การปรับโครงสร้างหนี้แล้วให้ถือปฏิบัติดังนี
- ถ้าผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยในปีใดมิให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น
- เมื่อสมาชิกได้รับเงินปันผลและเฉลี่ยคืนในแต่ละปีบัญชีต้องยินยอมให้สหกรณ์นำเงินมาชำระหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งจำนวนเงินเว้นแต่คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นอย่างอื่น
เงินกู้สามัญเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาระค้ำประกัน
เงินกู้สามัญเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภาระค้ำประกัน ดอกเบี้ยร้อยละ 4.25 บาทต่อปี
วัตถุประสงค์ของการปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อช่วยเหลือสมาชิกดังนี้
- ผ่อนคลายภาระหนักในการชำระหนี้ของสมาชิก
- เพิ่มขีดความสามารถในการชำระหนี้และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้กู้หรือผู้ค้ำประกัน
หนี้ที่จะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ต้องมีลักษณะดังนี้
- หนี้ที่มีอยู่เป็นภาระหนัก โดยพิจารณาแล้วมีเงินได้คงเหลือสุทธิไม่เพียงพอในการ ชำระหนี้หรือไม่เพียงพอแกการดำรงชีพ
- หนี้ที่มีอยู่เป็นภาระหนัก อันเกิดจากเหตุสุจริตหรือเหตุอันจำเป็น ได้แก้ เหตุจาก ภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติ ปัญหาด้านสุขภาพ ถูกดำเนินคดีทางแพ่งและอาญา หรือต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน
สมาชิกที่จะขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ ต้องมีลักษณะดังนี้
- เป็นผู้ที่มีภาระหนี้สินเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถชำระได้ตามปกติโดยให้ พิจารณาจากรายได้และตามรายละเอียดบัญชีเงินเดือนของสมาชิกและหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องและต้อง ปรากฏว่ามีรายได้คงเหลือสุทธิไม่เพียงพอในการชำระหนี้หรือไม่เพียงพอแก่การดำรงชีพต้องได้รับความยินยอม จากผู้ค้ำประกัน หรือ
- เป็นผู้ค้ำ ประกันที่ต้องรับภาระการชำระหนี้แทนผู้กู้ โดยหนี้นั้นเป็นภาระหนักอัน เกิดจากเหตุสุจริตหรือเหตุอันจำเป็นของผู้ค้ำประกัน
- สมาชิกที่เกษียณอายุราชการหรือลาออกจากราชการ
สมาชิกที่ประสงค์จะปรับโครงสร้างหนี้ ให้ยื่นคำขอพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณา ตามแบบที่สหกรณ์กำหนด รวมทั้งเอกสารที่แสดงให้เห็นว่ามีภาระหนัก ภายในวันที่ 5 ของเดือน (หากตรงกับ วันหยุดให้เลื่อนออกเป็นวันทำการแรก) หากยื่นภายหลังให้ถือว่าเป็นคำขอปรับโครงสร้างในเดือนถัดไป
คณะกรรมการจะพิจารณาให้สมาชิกผู้กู้หรือค้ำประกันปรับโครงสร้างหนี้ได้ตามวิธีการ ดังต่อไปนี้
- ให้นำต้นเงินกู้ที่ค้างชำระ มาปรับงวดชำระหนี้ใหม่โดยขยายงวดชำระหนี้ออกไป ได้ไม่เกิน360 งวด แต่ต้องไม่เกินอายุ 80 ปี และต้องมีเงินได้รายเดือนสุทธิหลังหักชำระหนี้แล้วคงเหลือไม่น้อย กว่าร้อยละ 10 ตลอดอายุสัญญาที่ปรับโครงสร้างหนี้
- การปรับโครงสร้างหนี้ของสมาชิกรายใดรายหนึ่งให้กระทำได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี และยอดเงิน ที่ปรับโครงสร้างหนี้แต่ละครั้งจะต้องไม่เกินกว่าต้นเงินกู้คงเหลือรวมดอกเบี้ยที่ค้างชำระ
หลักประกันเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ให้ใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลาย อย่างรวมกัน ดังนี้
- มีสมาชิกสหกรณ์ตามที่คณะกรรมการดำเนินการเห็นสมควรเป็นผู้ค้ำประกันตาม จำนวนที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก้สมาชิก
- มีอสังหาริมทรัพย์อันปลอดจากภาระจำนองรายอื่น จำนองเป็นประกันเต็ม จำนวนเงินกู้รายนั้น หรือหลักประกันอื่น ตามเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการให้เงินกู้แก่ สมาชิก
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติให้สมาชิกรายใดปรับโครงสร้างหนี้แล้ว และได้ทำ การปรับโครงสร้างหนี้แล้วให้ถือปฏิบัติดังนี
- ถ้าผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยในปีใดมิให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น
- เมื่อสมาชิกได้รับเงินปันผลและเฉลี่ยคืนในแต่ละปีบัญชีต้องยินยอมให้สหกรณ์นำเงินมาชำระหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้ทั้งจำนวนเงินเว้นแต่คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นอย่างอื่น
กำหนดประเภทเงินกู้พิเศษ ดังนี้
- เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.00 บาทต่อปี วงเงินกู้ไม่เกิน 4,000,000.00 บาท
- เงินกู้พิเศษเพื่อการลงทุนประกอบอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 บาทต่อปี วงเงินกู้ไม่เกิน 4,000,000.00 บาท
- เงินกู้พิเศษเพื่อการซื้อยานพาหนะ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 6.25 บาทต่อปี วงเงินกู้ไม่เกิน 3,000,000.00 บาท
คุณสมบัติของสมาชิกผู้กู้ มีดังนี้
- เป็นสมาชิกมาไม่น้อยกว่า 24 เดือน
- ต้องไม่อยู่ในระหว่างการผิดนัดชำระหนี้กับสหกรณ์ จนกว่าจะแก้ไขการผิดนัดงวดชำระหนี้นั้นจนแล้วเสร็จ
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้พิเศษ ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์และสามารถหัก ณ ที่จ่ายได้ วงเงินกู้ไม่เกิน 4,000,000.00 บาท กำหนดชำระไม่เกิน 300 งวดๆสุดท้ายอายุไม่เกิน 70 ปี
- สมาชิกที่เป็นเจ้าหน้าที่สหกรณ์ ที่ยังปฏิบัติงานอยู่วงเงินกู้ไม่เกิน 3,000,000.00 บาท กำหนดชำระไม่เกิน 300 งวดๆสุดท้ายอายุไม่เกิน 60 ปี
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์และสามารถหัก ณ ที่จ่ายได้ วงเงินกู้ไม่เกิน 3,000,000.00 บาท กำหนดชำระไม่เกิน 300 งวดๆสุดท้ายอายุไม่เกิน 65 ปี
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ พนักงานกระทรวงสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจฯ ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ วงเงินกู้ไม่เกิน 1,000,000.00 บาท กำหนดชำระไม่เกิน 150 งวดๆสุดท้ายอายุไม่เกิน 60 ปี
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ วงเงินกู้ไม่เกิน 800,000.00 บาท กำหนดชำระไม่เกิน 150 งวดๆสุดท้ายอายุไม่เกิน 60 ปี
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญหรือสมาชิกที่มีอายุเกินกว่า 60 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน 800,000.00 บาท กำหนดงวดชำระหนี้ไม่เกิน 120 งวด แต่งวดสุดท้ายไม่เกินอายุ 70 ปี
หลักประกันสำหรับเงินกู้พิเศษ ที่ใช้อสังหาริมทรัพย์อันปลอดจากการจำนองรายอื่น จำนองเป็นหลักประกันเต็มจำนวนเงินกู้ส่วนที่เกินกว่าค่าหุ้นของผู้กู้เต็มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
- การใช้ที่ดินจำนองเป็นหลักประกัน ให้ถือราคาร้อยละเก้าสิบของราคาประเมินของทางราชการ
- อาคารให้คำนวณราคาตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้ โดยใช้ หลักเกณฑ์ดังนี้
- อาคารที่มีอายุการใช้งานไม่เกินสามปี ให้ถือราคาร้อยละเจ็ดสิบของราคาที่คำนวณ ได้
- อาคารที่มีอายุการใช้งานเกินกว่าสามปี แต่ไม่เกินห้าปี ให้ถือราคาร้อยละหกสิบของราคาที่คำนวณได้
- อาคารที่มีอายุการใช้งานเกินห้าปีแต่ไม่เกินสิบปี ให้ถือราคาร้อยละห้าสิบของราคาที่คำนวณได้
- อาคารที่มีอายุการใช้งานเกินสิบปีให้ถือราคาประเมินร้อยละสี่สิบของราคาที่คำนวณได้
- หลักเกณฑ์ ตามข้อ 1 และ 2 ให้ใช้เฉพาะที่ดินและอาคารในจังหวัดสุรินทร์ สำหรับที่ดินและอาคารนอกจังหวัดสุรินทร์ ไม่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ยกเว้นอาคารและที่ดินในจังหวัดศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม โดยกำหนดเฉพาะพื้นที่ในเขตอำเภอที่มีพื้นที่ติดกับจังหวัดสุรินทร์เท่านั้น โดยจะถือราคาที่คำนวณได้จากข้อ 1 และ 2 โดยอนุโลม ยกเว้นในส่วนของอาคารให้ถือราคาร้อยละห้าสิบของราคาที่คำนวณได้ทุกอายุการใช้งานแต่ไม่เกินสามแสนบาท
- สำหรับสมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไปให้ประเมินเฉพาะราคาที่ดินที่ทางราชการประเมินราคาเท่านั้นและให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละ 90 ของราคาประเมินแต่ไม่เกิน 800,000.00 บาท (แปดแสนบาทถ้วน)
เงินกู้พิเศษโดยใช้หลักประกันร่วมกัน จะมีได้ในกรณีต่อไปนี้
- ต้องเป็นสามีภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายและทั้งสองต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์
- การทำสัญญาเงินกู้พิเศษ และการชำระเงินจนแล้วเสร็จ ต้องดำเนินการพร้อมกัน
เงินกู้พิเศษ สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำสัญญาหรือหนังสือกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ของเจ้าของหลักทรัพย์ที่จะนำมาจำนองรวมทั้งคู่สมรส
- เอกสารแสดงรายการเงินเดือนของผู้กู้
- หนังสือยินยอมให้หักเงินเดือน ณ ที่จ่าย
- เอกสารเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจำนอง เช่น แบบแปลนอาคารโฉนดที่ดิน,น.ส.3 ก, ใบประเมินราคาที่ดิน หนังสือยินยอม ฯลฯ
- หนังสือจำนำหุ้นหรือบัญชีเงินฝาก แล้วแต่กรณี
- โครงการเพื่อการประกอบอาชีพ (กรณีกู้พิเศษเพื่อประกอบอาชีพ)
- เอกสารเกี่ยวกับยานพาหนะ (กรณีกู้พิเศษเพื่อซื้อยานพาหนะ)
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 บาทต่อปี
การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ดังนี้
- ผู้ขอกู้ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการผิดนัดงวดชำระหนี้ กับสหกรณ์จนกว่าจะแก้ไขการผิดนัดงวดชำระหนี้นั้นจนแล้วเสร็จ
- ผู้ที่เป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 เป็นต้นไป ต้องผ่านการอบรมสมาชิกใหม่ที่สหกรณ์ จัดขึ้น
- เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินสำหรับสมาชิกรายหนึ่งให้อยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจฯ ซึ่งเป็นสมาชิกที่ สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน รายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินหนึ่งแสนบาท และต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่าเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินที่สมาชิกรายนั้น ๆ กู้
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัย สุรินทร์ จำกัด ที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์ กู้ได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งของเงินได้รายเดือน แต่ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และต้องมีหุ้นไม่น้อยกว่าเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินที่สมาชิกรายนั้น ๆ กู้
- กำหนดงวดชำระหนี้เป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆ กัน เว้นแต่งวดสุดท้ายไม่เกินสิบสองงวดตาม สัญญา
- การหักเงินได้รายเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ประจำเดือนให้เป็น ดังนี้
- สำหรับสมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่ สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ตามเกณฑ์ ที่กำหนด ดังนี้
- ในปี 2565 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 79 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2566 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 78 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2567 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 77 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2568 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 76 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2569 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 75 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2570 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 74 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2571 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 73 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2572 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 72 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2573 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 71 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- ในปี 2574 ให้หักเงินได้รายเดือนร้อยละ 70 ของเงินได้รายเดือนที่เหลือ
- สำหรับสมาชิกที่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่ สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์ หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ตามเกณฑ์ ที่กำหนด ดังนี้
สำหรับสมาชิกที่มี กบข. ที่มีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไปและกำหนดงวดชำระหนี้เงินกู้นี้เดือนสุดท้ายเกิน อายุ 60 ปี ให้หักเงินได้รายเดือนออกร้อยละยี่สิบก่อน
- สำหรับสมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวกลุ่มวิชาชีพ หรือพนักงานราชการ หรือพนักงานกระทรวง สาธารณสุข(พกส.) หรือเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงานสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด หรือลูกจ้างชั่วคราว ทั่วไป หักเงินเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ได้ไม่เกินร้อยละ 70
- การกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำสัญญาหรือหนังสือกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนด พร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
- เอกสารแสดงรายการเงินเดือนล่าสุดของผู้กู้ ที่ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่การเงินใน หน่วยงานรับรอง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองสวัสดิการสมาชิก พ.ศ. 2567
เงินกู้ฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองสวัสดิการสมาชิก พ.ศ. 2567 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.75 บาทต่อปี
กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเงินกู้ฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองสวัสดิการสมาชิก พ.ศ. 2567 ดังนี้
- เป็นสมาชิกสามัญของสหกรณ์ออมทรัพย์อนามัยสุรินทร์ จำกัด และต้องเป็นสมาชิก มาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน
- เป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ฯ หรือสมาชิกกองทุนฯ ซึ่งสหกรณ์ออมทรัพย์ อนามัยสุรินทร์ จำกัด เป็นศูนย์ประสานงาน หรือสมาชิกของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์อนามัยสุรินทร์
- สมาชิกยื่นเอกสารขอกู้ได้ภายในวันที่ 1-15 มกราคม 2567
- ผู้ขอกู้ยื่นกู้ได้ตามภาระที่ค้างชำระจริง เพื่อสร้างความคุ้มครองสวัสดิการสมาชิกอย่าง ต่อเนื่อง
- วงเงินกู้สำหรับสมาชิกรายหนึ่งนั้น ให้เป็นตามหลักเกณฑ์ดังนี้
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำที่ยังปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ หรือข้าราชการบำนาญ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ หรือเจ้าหน้าที่สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ อนามัยสุรินทร์ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน รายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราว กลุ่มวิชาชีพ พนักงานราชการ ของหน่วยงานในสังกัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์และเจ้าหน้าที่ศูนย์ประสานงาน ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหัก เงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน รายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินห้าหมื่นบาท
- สมาชิกที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวทั่วไป ของหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นสมาชิกที่สหกรณ์สามารถส่งหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ตามจำนวนที่เรียกเก็บประจำเดือน รายหนึ่งกู้ได้ไม่เกินสามหมื่นบาท
- สมาชิกที่เป็นข้าราชการ ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานนอกสังกัดสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสุรินทร์และหรือไม่สามารถหักเงินเดือน ณ ที่จ่ายได้ ให้ใช้หลักเกณฑ์ตามข้อ 5.1 โดยอนุโลม แต่รายหนึ่งกู้ ได้ไม่เกินสามหมื่นบาท
- การหักเงินได้รายเดือนเพื่อชำระหนี้ให้แก่สหกรณ์ ให้หักจากเงินได้รายเดือนคงเหลือ
- กำหนดงวดชำระหนี้เป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆ กัน เว้นแต่งวดสุดท้ายไม่เกินสิบสองงวด ตามสัญญา
- การกู้ฉุกเฉินเพื่อคุ้มครองสวัสดิการสมาชิก พ.ศ. 2567 สมาชิกต้องยื่นคำขอกู้และทำ สัญญาหรือหนังสือกู้ตามแบบที่สหกรณ์กำหนดพร้อมเอกสารหลักฐาน ดังนี้
- เอกสารแสดงรายการเงินเดือนล่าสุดของผู้กู้ ที่ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่การเงินใน หน่วยงานรับรอง
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- เอกสารอื่นที่สหกรณ์เห็นว่าจำเป็นแก่การกู้รายนั้น
ขนาดตัวอักษร